เมนู

คาถาที่ 3


3) มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน
หาเปติ อตฺถํ ปฏิพทฺธจิตโต
เอตํ ภยํ สนฺถวเปกฺขมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหายผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว ชื่อว่า
ย่อมยังประโยชน์ให้เสื่อม บุคคลเห็นภัย คือการยัง
ประโยชน์ให้เสื่อม ในการเชยชิดนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 3 ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า มิตฺตา ด้วยอำนาจแห่งความรัก. ชื่อว่า สุหชฺชา ด้วย
ความเป็นผู้มีใจดี. จริงอยู่ คนบางคนเป็นมิตรเพราะหวังประโยชน์โดย
ส่วนเดียว มิใช่เป็นผู้มีใจดี. บางคนเป็นผู้มีใจดี ด้วยให้ความสุขในใจ
ในการเดิน ยืน นั่ง และสนทนาเป็นต้น มิใช่เป็นมิตร. บางคนเป็น
ทั้งผู้มีใจดี เป็นทั้งมิตร ด้วยอำนาจทั้งสองนั้น. ชนเหล่านั้นมี 2 คือ
อาคาริยมิตร มิตรคฤหัสถ์ และอนาคาริยมิตร มิตรบรรพชิต.
ในมิตรสองจำพวกนั้น อาคาริยมิตรมี 3 คือ มิตรมีอุปการะ 1
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ 1 มิตรมีความรักใคร่ 1. อนาคาริยมิตร คือมิตร
แนะประโยชน์ โดยต่างออกไปจาก 3 ประเภทนั้น มิตรเหล่านั้นประกอบ
ด้วยองค์ 4 ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่สิงคาลมาณพว่า
ดูก่อนบุตรคฤหบดี มิตรมีอุปการะ พึงทราบว่าเป็นผู้มีใจดีด้วย
ฐานะทั้งหลาย 4 คือ ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว 1 ป้องกันทรัพย์